พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดหลักการจัดการศึกษาว่าต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมและ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากนั้น...
การรับเลี้ยงเด็กในชุมชน ที่ใช้พื้นที่ใต้ถุนบ้านก็เปลี่ยนไป เพื่อให้ได้มาตราฐานที่ดีขึ้น โดยให้กำหนดพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นตัวชี้วัด ขณะเดียวกัน สถานที่ดูแลเด็ก รวมไปถึงครูก็ถูกยกระดับให้ตอบโจทย์มาตราฐาน เหล่านี้ด้วย
ตลอดช่วง ปี 2564 ผมได้มีส่วนเดินทางไปเยี่ยมแต่ละ ศพด. และได้นั่งพูดคุย กับ คุณครูหลายๆศูนย์ ก็ได้ฟัง ได้เห็นแง่มุมที่ต่างออกไป >>>>>อ่านต่อ
บ้านนี้อยู่กัน 5 คน
ผู้ชายป่วยติดเตียง 1คน
ผู้หญิงพิการทางสมอง 1 คน
เด็กพิการทางสมอง 1 คน
ยายแก่ 1 คน
สุดท้ายคือน้องขวัญ
เด็กอายุ 17 อีกหนึ่งคน
ยายที่พอจะหาเลี้ยงได้น้อยนิด
เบี้ยยังชีพ เป็นความหวัง
เราไม่ต้องเดาเลยว่าใครคือกำลังหลักของครอบครัว
ตอนนี้น้องขวัญ ได้รับการดูแลและเข้าเรียนกับ กศน. แล้ว หวังว่าจะเบาใจขึ้น
น้องขวัญเป็นกำลังสำคัญในบ้าน
แต่ก็ต้องไปเรียนด้วย
เราประเมินจากสถานการณ์ในบ้าน
แล้ว น้องจะเอาเวลาที่ไหนไปเรียน..
สิ่งที่หน้าสนใจคือ ครู จาก กศน.ที่คอยดูแล
ดูครูจะสนิดกับน้องขวัญมากไม่แค่นั้น
ยังสนิดกับครอบครัวด้วย
อย่างที่เราคิด ครูไม่ได้แค่สอนน้องขวัญ
ครูดูแล และให้มากกว่านั้น
การช่วยเหลือไม่ได้เพิ่งเริ่ม
จริงๆแล้ว ครูช่วยและดูแลมาตลอด
เราเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน ส่งเสริม
ให้เด็กที่มีโอกาสที่มากกว่าเดิม
และดำเนินชีวิตที่ดีได้ตามที่ควรเป็น
เรื่องนี้ยังไม่จบ ทีมงานก็ต้องกลับมาทบทวน
กระบวนการช่วยเหลือให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
............................................................
บางครั้งเราคิดว่าทำไมชีวิตเราแย่
อาจจะเป็นแค่ช่วงหนึ่ง
บางคนอาจจจะลำบากมานานกว่าที่เราเป็น
มันลำบากมากกว่าที่เราจะรู้ได้
..ใครที่คิดว่าตัวเองลำบาก..
ขอเป็นกำลังใจเติมพลังใจให้กัน
ได้เต็มที่
ใครที่ไม่มีทางออก
ไม่รู้จะคุยกับใคร
ทักมาหากัน มาเติมกำลังใจให้กัน
กั๊ด อก
บอย
2 ตุลาคม 2564
ที่ตำบลนาสัก อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
ผู้ใหญ่บ้านให้ความร่วมมืออย่างดีในการช่วยเด็กนอกระบบถึงแม้ไม่มีรายชื่อเด็กที่อยู่นอกระบบ ก็ยังช่วยให้ความเห็นว่า..
มีเด็กอยู่2-3คน มีแววหลุดออกจากระบบเช่นกัน ระหว่างนี้ผู้นำและชาวบ้านก็ต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด
..พื้นที่นี้ยังมียาเสพติดเข้าถึงตัวเด็กอยู่..ตอนนี้ยังหาต้นตอกันไม่ได้
การใช้ social media ทำให้เด็กๆ้ข้าถึงแหล่งพวกนี้ได้ง่ายๆ..
แต่เหล่าผู้นำก็ไม่ละเลย ยังพยามขจัดภัยนี้ออกไปจากชุมชนให้ได้
.เด็กสองคนในวันนี้ที่ได้รับการดูแล..ยินดีด้วย
17 กันยายน 2564
เวลาคุณครูเล่าถึง เด็กนักเรียนในวันนั้น
กลายเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันนี้
ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัว
ช่วยเหลือสังคมได้
แค่นี้ครูก็ภูมิใจแล้ว.
.ขณะที่เล่า ผมได้เห็นอีกแววตาประกาย
ออกมา ใสใส เปี่ยม ด้วยความสุข
ปลื้ม ปิติ ภูมิใจ..
คุณครูเล่าไป ยิ้มไป ดูมีความสุข...
เราก็พลอยยิ้มไปด้วย..
(ทำให้เราอยากเห็นหน้าเด็กคนนี้)
สิ่งนี้ อาจจะเป็นคำตอบ ว่าทำไม
ครูถึงทำงานในหน้าที่ผู้ดูแลเด็ก
ได้ อย่างยาวนาน
คุณครูเรณูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเสด็จ
มีเด็ก 38 คน
ครู 1 คน ครูพี่เลี้ยง 2 คน
อยู่หน้าวัดเสด็จ อ.เมือง จ.ลำปาง
บอย
6 ตุลาคม 2564
2 สิงหาคม 2564
วันศุกร์ที่ผ่านมา ทีมงานในพื้นที่คุณพนา ไหวพินิจ เจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตร ชวนเข้าพบ ท่านนายอำเภอแจ้ห่ม เพื่อชี้แจงความโครงการความเสมอภาคด้านการศึกษาจังหวัดลำปางท่านอำเภอได้แนะนำ เรื่องการสำรวจและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างใกล้ชิด แล้วจากนั้น หารือปรึกษาแนวทางการทำงาน ร่วมกับทีมพื้นที่นำโดย นายพนาไหวพินิจ ข้อสรุปคือทางทีมพื้นที่จะเป็นคนช่วยประสานงานกับพื้นที่และหาตัว เด็ก ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษา เพื่อเข้าไปช่วย ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพตัวเด็ก จากนั้น เดินทางไป บ้านแม่สุกหมู่ 6 เพื่อพบท่านผู้ใหญ่บ้านถามถึงความเป็นไป ในการสนับสนุนในปีที่ผ่านมา สิ่งที่ท่านแนะนำ คือ เราสามารถสอน อาชีพให้เด็กยังไงก็ได้ แต่อย่างหนึ่งที่ไม่ง่ายคือ สอนกระบวนการคิดให้เป็นผู้ประกอบการ ดังนั้นถ้าในกระบวนการ มีการ เติมเรื่องนี้ให้กับเด็กๆด้วยจะเป็นประโยชน์มาก
บอย