ขับเคลื่อน

“ความสำเร็จของโครงการพัฒนาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย” .....นายกฤษดา เขียวสนุก (บอย)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดหลักการจัดการศึกษาว่าต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมและ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากนั้น...

การรับเลี้ยงเด็กในชุมชน ที่ใช้พื้นที่ใต้ถุนบ้านก็เปลี่ยนไป เพื่อให้ได้มาตราฐานที่ดีขึ้น โดยให้กำหนดพัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นตัวชี้วัด ขณะเดียวกัน สถานที่ดูแลเด็ก รวมไปถึงครูก็ถูกยกระดับให้ตอบโจทย์มาตราฐาน เหล่านี้ด้วย

ตลอดช่วง ปี 2564 ผมได้มีส่วนเดินทางไปเยี่ยมแต่ละ ศพด. และได้นั่งพูดคุย กับ คุณครูหลายๆศูนย์ ก็ได้ฟัง ได้เห็นแง่มุมที่ต่างออกไป จึงขอแสดงความเห็น ของความสำเร็จของโครงการพัฒนาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ดังต่อไปนี้

ทุกศูนย์มีองค์ประกอบของความสำเร็จที่ต่างกันไป ถ้าจะมีให้ครบ คือ องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น อบต. เทศบาล ครู ครูผู้ดูแลเด็ก เด็ก ผู้ปกครอง ชุมชน และเครือข่าย ในกรณีนี้ผมไม่นับเรื่องมาตราฐาน งานวิชาการ เพราะถือว่าต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของ พรบ. ที่กล่าว มาข้างต้นแล้ว


มีต่อ...........

การศึกษา ร่วมเสวนาในหัวข้อ

“กลไกความร่วมมือในพื้นที่เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา”

29 มกราคม 2564

วันศุกร์ที่ 29 มกราคม 2564 เวลา 12.00-18.00 น.สมัชชาการศึกษานครลำปาง ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ดำเนินการจัดเวที “อนาคตเด็ก อนาคตลำปาง” เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมาในการสนับสนุนการพัฒนาสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย การช่วยเหลือเด็กปฐมวัย และการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในพื้นที่จังหวัดลำปาง โดยมี นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางเป็นประธานในพิธีเปิดงาน ศึกษาธิการจังหวัดลำปางได้มอบหมายให้นางรุ่งทิพย์ ทาวดี รองศึกษาธิการจังหวัดลำปาง และข้าราชการในสังกัดกลุ่มพัฒนาการศึกษา และกลุ่มนโยบายและแผน ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานและมอบหมายให้ นางจินดา สุวรรณชัญ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษา ร่วมเสวนาในหัวข้อ “กลไกความร่วมมือในพื้นที่เพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา” ณ ลานชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาลำปาง

ข่าวจากสำนักศึกษาธิการจังหวัดลำปาง

กสศ.ผนึกกำลัง 14 หน่วยงานขับเคลื่อน

การศึกษาพื้นที่จังหวัดลำปาง

15 สิงหาคม 2562

เมื่อ วันที่ 15 สิงหาคม 2562 ที่ห้องประชุมโอฬารรัตน์ อาคารโอฬารโรจน์หิรัญ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สมัชชาการศึกษานครลำปาง นายเรวัฒน์ สุธรรม ประธานสมัชชาการศึกษา ฯ ร่วมกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิยดา เหล่มตระกูล ผู้รับผิดชอบโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา จังหวัดลำปาง จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาจังหวัดลำปาง โดยมี รศ.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กล่าวต้อนรับผู้เข้าประชุมกว่า 100 คน จากหน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ 14 หน่วยงาน พร้อมทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 14 หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดลำปาง ในการขับเคลื่อนโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ฯ ในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสริมงาม อำเภอแม่เมาะ อำเภอแจ้ห่ม และอำเภองาว

นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ในฐานะประธานเปิดการประชุม กล่าวว่า เจตนารมณ์ที่มาเป็นประธานในงานนี้เนื่องจากจังหวัดลำปางให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษา เพราะเป็นประเด็นที่สอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพความเป็นมนุษย์และบุคลากรในศตวรรษที่ 21 ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมบุคลากรให้ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน

“โดยเฉพาะประเด็นสำคัญคือ การสร้างความเสมอภาค การให้โอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา อีกทั้งยังได้เล่าประสบการณ์ที่ได้เห็นความแตกต่างและความด้อยโอกาสจากการเรียนในวัยเยาว์ เพราะเป็นเด็กต่างจังหวัด และได้เข้ามาเรียนในกรุงเทพ ฯ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ ทำให้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว การที่ประเทศไทยมี พ.ร.บ.เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษานี้เห็นว่าเป็นโอกาสที่ดีที่เด็กไทยจะได้รับโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอย่างเสมอภาคกัน” นายทรงพลกล่าว

นายทรงพลกล่าวว่า สำหรับการทำงานด้านการศึกษาที่ผ่านมาของจังหวัดลำปาง รู้สึกชื่นชมหน่วยงานทางการศึกษาของจังหวัด โดยเฉพาะ กศน. ที่เป็นหน่วยงานที่ทำงานหนักและให้โอกาสคนชายขอบได้เข้ามาเรียนและมาเป็นส่วนร่วมสำคัญในการสำรวจ ค้นหากลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้ด้วย ในโอกาสการประชุมชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาครั้งนี้ ก็ขอให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนี้อย่างจริงจังเพราะจังหวัดให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษา และแม้ตนเองจะเกษียนไปจากจังหวัดลำปาง ก็จะพยายามเดินทางมาติดตามเรื่องนี้ให้สำเร็จตามที่ตั้งใจไว้

ด้านนายพัฒนะพงษ์ สุขมะดัน ผู้ช่วยผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า บทบาทของ กสศ. ในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา มีกลุ่มเป้าหมายกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา 4.6 ล้านคนทุกช่วงวัย สำหรับโครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่จะดำเนินการกับกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มก่อน คือ กลุ่มปฐมวัย และเด็ก และเยาวชนนอกระบบการศึกษา และในปีต่อๆไป จะมีการขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายอื่นต่อไป จึงขอชักชวนให้ผู้เข้าร่วมประชุมมาช่วยกันทำงานค้นหาเด็กกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ เพื่อคืนโอกาสในการสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้เด็กกลุ่มเป้าหมาย

กสศ.เปิดประตูสู่โอกาส เด็กปฐมวัย โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษากาญจนบุรี ศพด. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

สมัชชาการศึกษานครลำปาง เรวัฒน์ สุธรรม ดร.วิยดา เหล่มตระกูล รศ.กิตติศักดิ์ สมุทธารักษ์ ลำปาง ทรงพล สวาสดิ์ธรรม พัฒนะพงษ์ สุขมะดัน